เครื่องดื่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
- ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
- ผู้นำเข้า
หน้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
การจดทะเบียน
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต ภายใน 30 วัน ก่อนวันเริ่มผลิตสินค้า
ความรับผิดในการเสียภาษี
ความรับผิดในอันที่จะเสียภาษีเกิดในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือ คลังสินค้าทัณฑ์บน
ความรับผิดในอันที่จะเสียภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เกิดขึ้นก่อนนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม
กำหนดเวลายื่นแบบและชำระภาษี
กรณีเครื่องขายเครื่องดื่ม
ยื่นแบบชำระภาษีก่อนความรับผิดเกิดขึ้นหรืออาจขอชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกันได้
เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ยื่นแบบชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนได้
สถานทียื่นแบบและการชำระภาษี
กรณีเครื่องดื่มที่ใช้แสตมป์ หรือเครื่องหมายแสดงรายการภาษีจดทะเบียน
- ยื่นชำระภาษีก่อนเกิดความรับผิดเพื่อนำแสตมป์ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนไปผนึกเครื่องดื่มก่อนนำออกจากโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม |
สถานที่ชำระภาษี |
อำเภอทุกอำเภอ |
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สมุทรสาคร |
การแจ้งราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ต้องแจ้งราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม ก่อนวันที่เริ่มจำหน่ายหรือก่อนวันที่เปลี่ยนแปลงราคาไม่น้อยกว่า 7 วัน
การคำนวณภาษี / ฐานภาษี
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตรามูลค่าร้อยละ 15- กรณีอัตราภาษีตามมูลค่า
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
หรือสูตรภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต +อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย) xอัตราภาษี
= ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม x อัตราภาษี
—————————————————
1-(1.1 x อัตราภาษี)
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีสินค้าผลิตในประเทศ
บริษัท แสนดี จำกัด ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลม เครื่องหมาย “แสนดี”จำนวน 10,000 ขวด ขนาดบรรจุภาชนะละ 500 ซี.ซี. ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ขวดละ 8 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 20 และอัตราภาษีสรรพสามิตตามปริมาณชนิด บรรจุภาชนะซึ่งมีปริมาณไม่เกิน 440 ซี.ซี. ภาชนะละ 0.37 บาท เศษของ 440 ซี.ซี. ให้นับเป็น 440 ซี.ซี.
วิธีการคำนวณภาษี
1. ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ จำนวนเครื่องดื่ม 1 ขวด = 500 หน่วย ซี.ซี.
อัตราภาษี 440 ซี.ซี. = 0.37 บาท(เศษของ 440 ซี.ซี. ให้นับเป็น 440ซี.ซี.)
ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ = ปริมาณ x อัตราภาษี
= 10,000 x 2 x 0.37 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต 7,400 บาท
2. ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
= (10,000 x 8 ) x 20/100
= 16,000 บาท
จะเห็นได้ว่าภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าที่คำนวณได้ สูงกว่า ภาษีตามปริมาณที่คำนวณได้
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = 16,000 บาท
พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 1,600 บาท
รวมต้องชำระ = 17,600 บาท
การยกเว้นภาษี
เครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผัก ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตจะต้องไม่มีก๊าดคาร์บอนไดออกไซด์และให้เป็นไปตามบัญชีอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักตามประกาศกรมสรรพสามิตเรื่องกำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้ และน้ำผักที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 27 มีนาคม 2538
การยกเว้นและการคืนภาษี
1. สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
2. สินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับสิทธิตามข้อผูกพัน หรือตามกฎหมายระหว่าประเทศ
3. ผู้เสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่เสียภาษีเกินกว่าที่ควรเสีย มีสิทธิขอคืนภาษีตาม ม.107
หน้าที่ของผู้นำเข้า
ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี
เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร (เว้นแต่ กรณีสินค้าเก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในเวลานำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน)
กำหนดเวลายื่นแบบชำระภาษี
ผู้นำเข้าต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
สถานที่ยื่นแบบรายการและชำระภาษี
ผู้นำเข้ายื่นแบบรายการและชำระภาษีที่กรมศุลกากร หรือด่านศุลกากร
การคำนวณภาษี / ฐานภาษี
ผู้นำเข้ามีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่า ในอัตราภาษีตามบัญชีแนบท้าย โดยให้ถือมูลค่า คือ ราคา C.I.F. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี
—————————————————————
1-(1.1 x อัตราภาษี)- ตัวอย่างการคำนวณภาษี
บริษัท เอบี จำกัด นำเข้าเครื่องดื่มไซดี้ จำนวน 10,000 ขวด ขนาดบรรจุภาชนะละ 1,000 ซี.ซี. ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 40,000 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 8,000 บาท อากรพิเศษ 800 บาท อัตราภาษีสรรพสามิต ตามมูลค่าร้อยละ 20 และอัตราภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ 440 ซี.ซี.ภาชนะละ 0.37 เศษของ 440 ซี.ซี.ให้นับเป็น 440 ซี.ซี
วิธีการคำนวณภาษี
1. ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณจำนวนเครื่องดื่ม 1 ขวด = 1,000 ซี.ซี
อัตราภาษี 440 ซี.ซี. =2.27(เศษของ440ซี.ซีให้นับเป็น 440 ซี.ซี.)
ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ = ปริมาณ x อัตราภาษี
= 10,000 x 3 x 0.37 บาท
= 11,100 บาท
2. ภาษีสรรพสามิตมูลค่า
สูตร
ภาษีสรรพสามิต = (C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีอื่นไม่รวม VAT) x อัตราภาษีสรรพสามิต
——————————————————
1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)
แทนค่าในสูตร
ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = (40,000 + 8,000 + 800) x 20/100
—————————
1-(1.1 x 20/100)
= 9,760
——
0.780
ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = 12,512.82 บาท
จะเห็นได้ว่าภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าที่คำนวณได้สูงกว่า ภาษีตามปริมาณที่คำนวณได้
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = 12,512.82 บาท
ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 1,251.28 บาท
รวมต้องชำระภาษี = 13,764.10 บาท
การยกเว้นและการคืนภาษี
1. สินค้านำเข้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตให้ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร โดยถือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
2. สินค้าที่นำเข้าซึ่งได้เสียภาษีแล้ว และหากส่งกลับออกไป ให้คืนภาษีแก่ผู้นำเข้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขเดียวกับการคืนเงินอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
เอกสารอ้างอิงจากเว็บของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สมุทรสาคร
Link : http://samutsakorn.excise.go.th/produce/drink1.php